ภาษาถิ่นหลักๆในแต่ละภาค


ภาษากลาง คือ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี  นครปฐม  อ่างทอง  และพระนครศรีอยุธยา  เป็นต้น  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้  มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป  จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน
ภาษาถิ่นใต้ คือ  ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้  ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง  สตูล  ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่  พังงา  ระนอง  สุราษฎร์ธานีและชุมพร  และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห  เช่น  ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ  ปัตตานี  ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น  ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป
อีสานคือ ภาษาถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา  ได้แก่  ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน  ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด  เลย  ชัยภูมิ  มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น
ภาคเหนือ ภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง)  คือ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม  มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่  เป็นต้น
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น